Moving Average คือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นเครื่องมือเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์แนวโน้ม หรือทิศทางของตลาดโดยส่วนมากที่เป็นที่นิยมของนักลงทุนมีอยู่ 2 แบบคือ Simple Moving Average (SMA) กับ Exponential Moving Average (EMA)
ประโยชน์และการนำไปใช้งาน
หลักการทำงานของ Moving Average คือการนำราคาที่มีความผันผวนของแต่ล่ะวัน มาหาค่าเฉลี่ยให้มันสมูธมากขึ้น โดยจะแสดงเป็นเส้นเรียบ (Smooth)ในกราฟ เพื่อให้ดูง่ายและสะดวกต่อการใช้บอกแนวโน้ม (Trend) ของตลาดที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร เพื่อใช้เป็นแนวทาง(คาดการณ์) แนวโน้มในอนาคตว่าควรจะไปทางไหน
อีกทั้งยังสามารถใช้บอกแนวรับ-แนวต้านของตลาดหุ้นหรือค่าเงิน รวมทั้งจุดซื้อ-ขายเบื้องต้นได้ด้วย ซึ่งในบทความนี้จะขอกล่าวเน้นเฉพาะ Moving Average หลักที่นิยมใช้กันเป็นส่วนมากคือ Simple Moving Average (SMA) กับ Exponential Moving Average (EMA) โดยมีหลักการทำงานและข้อแตกต่างกันคือ
SME = ใช้ราคาจากอดีตมาหาค่าเฉลี่ยแบบง่าย (เส้นค่าเฉลี่ยวิ่งตามราคาช้ากว่า EMA )
EMA = ใช้ราคาจากอดีตมาหาค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักมาที่ราคาล่าสุด (เส้นค่าเฉลี่ยวิ่งตามราคาเร็วกว่า SME )
ตัวอย่าง
ตามตัวอย่างจะเห็นได้ว่าถึงแม้เวลาจะ 10 วันเท่ากัน แต่ EMA (เส้นสีเหลือง) มีความไวในการตอบสนองต่อราคาเร็วกว่า SMA (เส้นสีน้ำเงิน) โดยดูได้จากความชันของ EMA ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่า SMA นั่นเอง
ฉะนั้นการเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับนักวิเคราะห์เองว่าชอบแบบไหน ถ้าชอบตัวที่ให้สัญญาณซื้อหรือขายที่เร็วกว่าก็ใช้ EMA แต่ก็มีข้อเสียด้วยเหมือนกันคือ ยิ่งเส้นค่าเฉลี่ยมีความเร็วเท่าไหร่โอกาสผิดพลาดย่อมมีสูงตามไปด้วย (เกิดสัญญาณหลอกบ่อย)
และในทางกลับกัน SMA ถึงแม้จะมีความไวในการตอบสนองต่อราคาที่ค่อนข้างช้า แต่โอกาสที่จะผิดพลาดจึงย่อมน้อยกว่า (เกิดสัญญาณหลอกน้อยกว่า) นั้นเอง
ความว่องไวของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จากการตั้งค่า Priod (จำนวนวัน)
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ปากฎบนกราฟจะต่างแตกต่างกันไปตาม Priod หรือจำนวนวันที่กำหนด หากเลือกกำหนดจำนวนวันที่มากๆ ความว่องไวของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มก็ช้าลงตามไปด้วย พูดสั้นๆง่ายๆก็คือ ยิ่งวันเยอะยิ่งช้า ยิ่งวันน้อยยิ่งเร็ว นั่นเอง ขอให้สังเกตความว่องไวของเส้นค่าเฉลี่ยที่ต่างกันจากการกำหนดจำนวนวันที่ต่างกันทั้ง 3 เส้น ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง
ตัวอย่าง ความว่องไวของเส้นค่าเฉลี่ยจาก EMA 7 วัน , EMA 42 วัน , EMA 147 วัน
ข้อดีของเส้น SMA หรือ EMA ที่ใช้จำนวนวันน้อย
เห็นการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มได้รวดเร็ว
ข้อเสียของเส้น SMA หรือ EMA ที่ใช้จำนวนวันน้อย
ถ้าช่วงเวลานั้นตลาดมีความผันผวนมากๆ คือขึ้นๆ ลงๆ ความเร็วของค่าเฉลี่ยที่ได้อาจเป็นข้อเสียทำให้หาจังหวะที่จะเข้าตลาดผิดพลาดได้ (เนื่องจากมันเปลี่ยนเร็วเกินไป จากการขึ้นๆ ลงๆ ของตลาด บางทีจะเรียกว่า ตัวรบกวน หรือ Noise )
ข้อดีของเส้น SMA หรือ EMA ที่ใช้จำนวนวันมาก
SMA หรือ EMA เมื่อกำหนดใช้จำนวนวันที่มากๆ ผลที่ได้ทำให้เกิดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีความว่องไวช้า แต่ก็เป็นผลดี ช่วยลด Noise ที่เกิดขึ้นทำให้ความผิดพลาดลดน้อยลง เนื่องจากเป็นเส้นที่ได้มาจากการคำนวณในข้อมูลที่มากกว่า จึงช่วยกำจัดความผันผวนให้น้อยลง
ข้อเสียของเส้น SMA หรือ EMA ที่ใช้จำนวนวันมาก
จากค่าเฉลี่ยที่มีความล่าช้า เพราะต้องใช้ข้อมูลจากอดีตมาคำนวณ การนำ SMA หรือ EMA มาใช้ในการหาจุดซื้อ-ขาย อาจทำให้เสียโอกาสในการทำกำไรบางช่วงจังหวะได้
แล้วเราควรจะเลือกใช้(ตั้ง)ช่วงเวลาเท่าไหร่ดี?
ปกติก็ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวว่าจะต้องตั้งเท่านั้นเท่านี้ถึงจะดีที่สุด เพราะมันขึ้นอยู่กับตัวบุคคล แต่ก็สรุปเป็น 2 แนวคิดหลักๆในการเลือกได้ดังนี้
- เลือกใช้เส้นค่าเฉลี่ยที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้กันมากที่สุด(ตามต้นฉบับ) เพราะ เมื่อใช้เป็นสัญญาณซื้อ/ขาย เป็นส่วนมากแล้วจะทำให้เส้นค่าเฉลี่ยนั้นมีนัยสำคัญ มีประสิทธิ เนื่องจากคนส่วนมากเลือกใช้เส้นดังกล่าวเป็นตัวตัดสินใจ ย่อมส่งผลให้ผลักดันราคาไปในทิศทางเดียวกัน
- เลือกใช้เส้นค่าเฉลี่ยตามสไตล์หรือความถนัดของตัวเอง(สั้น-กลาง-ยาว) แล้วเลือกเช็ทตามปฏิทิน เช่น 5 วัน แทน 1 สัปดาห์ , 20 วัน แทน 1 เดือน , 75 วัน แทน 1 ไตรมาส และ 200 วัน แทน 1 ปี
การตั้งค่า Moving Average (SMA ,EMA) ให้เหมาะสมกับรูปแบบการลงทุน
ในส่วนของการใช้งานเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้ง SMA หรือ EMA ซึ่งมีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันเกือบทุกอย่าง จุดที่แตกต่างกันก็มีเพียงความเร็วของการให้สัญญาณซื่อ-ขายที่ช้าหรือเร็วกว่ากันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การนำมาใช้เพื่อการวิเคราะห์ ทางเทคนิคให้ได้ผล จำเป็นต้องมีการตั้งค่าที่เหมาะสมกับรูปแบบที่เรากำลังลงทุนคือ
หากเลือกรูปแบบการลงทุนในระยะสั้น = ตั้งค่า Priod ของ SMA ควรจะอยู่ที่ 5-20 วัน
รูปแบบการลงทุนในระยะกลาง = ตั้งค่า Priod ของ SMA ควรจะอยู่ที่ 50-70 วัน
รูปแบบการลงทุนในระยะยาว = ตั้งค่า Priod ของ SMA ควรจะอยู่ที่ 100-200 วัน
การใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (SMA ,EMA) บอกแนวโน้ม ทำได้ 2 วิธี คือ
1. ดูที่ความชัน (Slope) ของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ คือถ้าความชันของเส้นชี้ขึ้นเป็นบวกอย่างต่อเนื่อง แล้วมีราคาวิ่งอยู่ด้านบนเส้นค่าเฉลี่ย แสดงว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าความชันของเส้นชี้ลงเป็นลบอย่างต่อเนื่อง แล้วมีราคาวิ่งอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยแสดงว่าเป็นแนวโน้มขาลง
ตัวอย่างการหาแนวโน้มที่ดูจากความชันของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (SMA หรือ EMA)
หมายเหตุ: กรณีการใช้เส้น MA (เส้นเดียว) มาประยุกต์ใช้ในการซื้อขายนั้น มีหลักการจำง่ายๆคือ ซื้อ เมื่อแท่งเทียนทะลุเส้น MA ขึ้นไป และ ขาย เมื่อแท่งเทียนหลุดเส้น MA ลงมา
2. ดูที่การตัดกัน (Crossover) ของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้น โดยเส้นหนึ่งใช้จำนวนวันน้อย แล้วอีกเส้นใช้จำนวนวันมาก เช่นใช้เส้น EMA 5 วัน กับ EMA 50 วัน (ระยะสั้น กับระยะกลาง) ถ้าเส้นระยะสั้นตัดเส้นระยะยาวขึ้น แปลว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าเส้นระยะสั้นตัดเส้นระยะยาวลงมา แปลว่าเป็นขาลง
ตัวอย่าง การหาแนวโน้มที่ดูจากการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้น
หมายเหตุ: กรณีการใช้เส้น MA สำหรับมาประยุกต์ใช้ในการซื้อขายนั้น มีหลักการจำง่ายๆคือ ซื้อ เมื่อเส้นระยะสั้น ตัดเส้นระยะยาวในทิศขึ้น และ ขาย เมื่อเส้นระยะสั้น ตัดเส้นระยะยาวในทิศลง
การนำ MA มาใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในหน้าที่ 2 ช่วง คือขาขึ้นและขาลง
1. ในขณะที่หุ้นหรือค่าเงินอยู่ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น MA จะทำหน้าที่เป็นแนวรับ
2. ในขณะที่หุ้นหรือค่าเงินอยู่ในช่วงแนวโน้มขาลง MA จะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
ความหมายของแนวรับและแนวต้าน
แนวรับ คือ เมื่อราคาหุ้นหรือค่าเงินปรับตัวลดลงในระดับหนึ่งจนเกิดแรงจูงใจให้นักลงทุนหลายท่านเข้าซื้อ ซึ่ง ณ เวลาตรงจุดนี้เองทำให้อุปสงค์มากกว่าอุปทาน ส่งผลให้ราคาหุ้นหรือค่าเงินนั้นปรับตัวสูงขึ้น ส่วนราคาของหุ้นหรือค่าเงินที่อยู่ในระดับต่ำสุดนั้น เราจะเรียกว่าแนวรับ หริอ Support นั่นเอง
แนวต้าน คือ เมื่อราคาหุ้นหรือค่าเงินปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่งจนเกิดแรงจูงใจให้นักลงทุนขาย ซึ่ง ณ เวลาตรงจุดนี้เองทำให้มี อุปสงค์น้อยกว่าอุปทาน ส่งผลให้ราคาหุ้นหรือค่าเงินนั้นปรับตัวลดลง ส่วนราคาของหุ้นหรือค่าเงินที่อยู่ในระดับเพิ่มขึ้นสูงสุดนั้นเราจะเรียกแนวต้าน หรือ Resistance นั่นเอง
[ratings]