ในบทความนี้จะกล่าวถึงการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เอาแบบเข้าใจง่ายๆ ไม่มีอะไรซับช้อน โดยอาศัยกราฟจาก MetaTrader4
ในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค โดยปกติจะอยู่บนสมมุติฐานใน 3 ข้อคือ
- ราคา ณ เวลาขณะนั้นในอดีตที่นำมาวิเคราะห์ เป็นผลรวมจากปัจจัยทั้งหมด ที่ส่งผลกระทบให้ค่าเงินเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นข่าวใหญ่ๆ หรือเหตุการณ์ต่างๆที่สำคัญๆ ร่วมด้วย
- ราคาเคลื่อนไหวที่มีแนวโน้มจะไปในทิศทางใด ทิศทางหนึ่ง มักจะคงอยู่ในแนวโน้มนั้นๆ ไปสักพักในระยะช่วงเวลาหนึ่ง
- พฤติกรรมการลงทุน(ซื้อ-ขาย) ของนักลงทุน(เทรดเดอร์) ยังคงมีลักษณะเหมือนเดิมคือเป็นคล้ายๆเหมือนในอดีต
เส้นที่บ่งบอกแนวโน้มดูยังไง Trend Line
เส้นที่บอกลักษณะการเคลื่อนไหวค่าสกุลเงินแยกออกเป็น 3 ลักษณะคือ
- เส้นแนวโน้มขาขึ้น Uptrend
- เส้นแนวโน้มราบ Sideways
- เส้นแนวโน้มขาลง Downtrend
- เส้นแนวโน้มขาขึ้น Uptrend จะมีรูปแบบลักษณะเหมือนเรากำลังเดินขึ้นบันได คือการก้าวไปทีล่ะขั้นๆ สูงขึ้นไปเรื่อยๆ จากน้อยไปหามาก แล้วก็มากขึ้นไปทีล่ะขั้นนั้นตามลำดับ
ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคโดยอาศัยเส้นแนวโน้มขาขึ้นจากกราฟแท่งเทียน
ถ้ากราฟแท่งเทียนมีรูปแบบลักษณะออกมาคล้ายๆดังภาพตัวอย่าง สามารถเรียกได้เลยว่าเป็นเส้นแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) นักลงทุนสามารถทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีง่ายๆ คือให้สร้างเส้นขนานขึ้น 1 คู่ โดยกำหนดให้เส้นหนึ่งอยู่ด้านบน(Parallel Line) แล้วลากขึ้นไปตามแนวเฉลียง(องศา)ของกราฟ ส่วนอีกเส้นให้อยู่ด้านล่าง(Uptrend Line) ) แล้วลากขึ้นไปตามแนวเฉลียงของกราฟเช่นกัน (ให้ดูภาพตัวอย่าง) จากนั้นให้สร้างเส้นเชี่ยมโยงโดยเริ่มจากจุดที่ต่ำสุดคือค่าเงินกำลังเริ่มแข็งค่าขึ้น (หมายเลข 1) แล้วลากขึ้น-ลงๆ ไปเรื่อยๆ จากจุดที่แข็งค่าสูงสุด-ไปถึงจุดต่ำสุด สลับขึ้น-ลงเรื่อยๆ จนให้ไปถึงจุดหมายเลข 6 เมื่อถึงหมายเลข 6 แล้ว สมมุติว่าช่วงเวลานั้นค่าเงินกำลังอ่อนค่าลงเรื่อยๆ เนื่องจากทิศทางของแนวโน้ม จากจุด หมายเลข 1- 6 มันไปในทิศทางเดียวกัน ความหมายคือ เมื่อมันถึงจุดหมายเลข 7 แล้วมันส่อแวว(ให้สัญญาณ)แนวโน้มว่าน่าจะขึ้นตามหลักผลเฉลี่ยของสติถิ ฉนั้นช่วงเวลาที่ค่าสกุลเงินหนึ่งๆทีกำลังปรับตัวลงมาเรื่อยๆ จนใกล้จะถึงจุดตรงหมายเลข 7 นั้นคือช่วงเวลาที่นักลงทุนควรซื้อสกุลเงิน(หรือหุ้น)นั้นทันที ถ้าหากใช้หลักสัญญาณทางเทคนิคในการตัดสินใจ
2.เส้นแนวโน้มราบ Sideways trend หรือจะเรียกว่าเส้นแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้
ลักษณะการเคลื่อนที่จะคล้ายๆฟันปลา หรือฟันเลื่อยลันดา เพราะเนื่องจากอุปสงค์ มีจำนวนใกล้เคียงกับอุปทาน หรืออาจจะเท่ากันถ้าพูดง่ายๆตามประสาชาวบ้านก็คือ คนที่ต้องการซื้อกับคนที่ต้องการขาย ณ ช่วงเวลานั้นมีจำนวนเท่าๆกัน หรือใกล้เคียงกันมากนั่นเอง
ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคโดยอาศัยเส้นแนวโน้มราบจากกราฟแท่งเทียน
ถ้าหากรูปแบบกราฟมีลักษณะเส้นแนวโน้มเหมือนกับภาพตัวอย่าง อาจจะไม่เหมือนกันเป๊ะทั้งหมด แต่ถ้าเคร้าโคร้างมันออกมาในแนวนี้ ให้ถือว่าเป็นเส้นแนวโน้มราบได้เลย วิธีการวิเคราะห์ก็ให้ทำเหมือนกับข้อแรก คือให้สร้างเส้นขนาน 1 คู่ โดยเส้นแรกให้นำไว้ที่ด้านบนกราฟหรือเส้นแนวโน้ม ส่วนเส้นที่ 2 ให้เอาไว้ข้างล่าง(ดูภาพตัวอย่าง) จากนั้นให้ขีดเส้นเชื่อมโยง เริ่มจากจุดที่ค่าเงินแข็งค่ามากที่สุด(เลข 1) แล้วลากลงมา-ยังจุดอ่อนค่าที่สุด(เลข 2) แล้วลากขึ้นลงๆ ตามลำดับไปเรื่อยๆจนถึงเลข 7 จะสังเกตุเห็นว่าจากการลากซิกแซกๆ ขึ้นลงๆ ไปตามจุดต่ำสุดและสูงสุดนั้น มันเหมือนมีกำแพงกันอยู่ 2 ฝั่ง คือด้านบนกับด้านล่าง ซึ่งตรงนี้เองที่นักลงทุนเขาใช้เรียกว่าแนวรับกับแนวต้าน โดยกำแพงฝั่งด้านบน(จุดที่ค่าเงินแข็งที่สุด)นั่นก็คือแนวต้าน ส่วนกำแพงด้านล่าง(จุดที่ค่าเงินอ่อนที่สุด) ก็คือแนวร้บนั้นเอง โดยหลักวิธีการจำง่ายๆก็คือ แนวรับ=จุดซื้อ แนวต้าน=จุดขาย ส่วนช่วงเวลาที่เหมาะสมในการซื้อให้ดูจากการเคลื่อนไหวของค่าเงิน โดยมีหลักวิธีการจำง่ายๆอีกเช่นกันคือ เมื่อไหรที่ค่าสกุลเงินอ่อนกำลังลงมาจนใกล้จะถึงจุดแนวรับ(มุมฝั่งด้านล่าง)ให้เปิดออเดอร์ซื้อทันที แล้วเก็บไว้รอขายในช่วงที่มันแข็งค่าหรือปรับราคาขึ้นเรื่อยๆจนจวนจะถึงจุดแนวต้าน(มุมฝั่งด้านบน) ให้ทำการเปิดออเดอร์ขายทันที แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่เหมือนกันคือ บางครั้งราคาอาจทะลุทั้งแนวรับหรือแนวต้านได้ ฉนั้นจึงควรดูประวัติย้อนหลังของกราฟว่าเคยมีประวัติทะลุในช่วงไหน และวิเคราะห์หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร จะได้ระมัดะวังและวางแผนการลงทุนได้ถูกต้อง
3. เส้นแนวโน้มขาลง Downtrend รูปแบบลักษณะก็ตรงกันข้ามกับเส้นแนวโน้มขาขึ้น นั่นก็คือ คล้ายๆกับการเดินลงบันไดไปที่ล่ะขั้นๆ ค่อยๆต่ำลงไปเรื่อยๆตามลำดับ
ตัวอย่างเส้นแนวโน้มขาลงจากกราฟแท่งเทียน
ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคโดยอาศัยเส้นแนวโน้มขาลงจากกราฟแท่งเทียน
นักลงทุนสามารถทำการวิเคราะห์โดย สร้างเส้นขนานขึ้น 1 คู่ โดยกำหนดให้เส้นหนึ่งอยู่ด้านบน(Downtrend) แล้วลากลงไปตามแนวเฉลียง(องศา)ของกราฟ ส่วนอีกเส้นให้อยู่ด้านล่าง(Parallel Line) ) แล้วลากลงไปตามแนวเฉลียงของกราฟเช่นกัน (ให้ดูภาพตัวอย่าง) จากนั้นให้สร้างเส้นเชี่ยมโยงโดยเริ่มจากจุด(หมายเลข 1))ที่ค่าเงินมีความแข็งค่ามากที่สุด แล้วลากลงไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่ค่าเงินปรับตัวลงต่ำสุด(หมายเลข 6) และเมื่อมาถึงหมายเลข 6 แล้ว ถ้าค่าเงินปรับตัวขึ้นมาเรื่อยๆ ถ้าหากมันใกล้ถึงจุดหมายเลข 7 ดูจากสัญญาณทางสติถิแล้ว มันส่อแวว(แนวโน้ม)ว่าน่าจะลงแน่นอน ฉนั้นช่วงเวลาที่ค่าสกุลเงินหนึ่งๆทีกำลังปรับตัวขึ้นมาเรื่อยๆ จากจุดหมายเลข 6 จนใกล้จะถึงจุดหมายเลข 7 นั้นคือช่วงเวลาที่นักลงทุนควรเปิดออเดอร์ขายสกุลเงิน(หรือหุ้น)นั้น เมื่อยึดตามหลักสัญญาณทางเทคนิค ของการตัดสินใจนั่นเอง