อิชิโมกุ (ichimoku) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอีกตัวหนึ่ง ที่อยู่ในแฟลตฟอร์ม MT4 โดยอินดิเคเตอร์ตัวนี่ หากมองโดยภาพรวมๆแล้ว ค่อนข้างจะยุ่งเยิง สับสน อลเวง ดูไม่ค่อยจะน่าใช้ชักเท่าไร
แต่ในความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ครับ เพราะอินดิเคเตอร์ตัวนี้ เขาให้ข้อมูลที่มีความแม่นยำมากทีเดียว ในบทความนี้จะมากล่าวถึงประโยชน์และการนำไปใช้ง่าย ของเจ้า Ichimoku กันครับ โดยเนื้อหาจะอยู่ในรูปแบบฉบับย่อ สั้น กระทัดลัด เพื่อจะได้ง่ายต่อการทำความเข้าใจครับ
Ichimoku แบ่งแยกออกเป็น 3 ส่วน ที่ประกอบด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 5 เส้นดังนี้
- เส้นถอย (Chikou ชิโคว) คือเส้นราคาปิดปัจจุบันที่ขยับตัวกลับ 26 ครั้ง
- เส้นกลาง จะประกอบด้วย 2 เส้นคือ เส้น คือเส้น Tenkan (เท็งกัง) = ค่าเฉลี่ยสูงสุด+ต่ำสุด ÷ 2 ใน 9 ครั้ง, และเส้น Kijun (คิจุน) = คือค่าเฉลี่ยสูงสุด+ต่ำสุด ÷ 2 ใน 26 ครั้ง
- เส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆ (Kumo คุโมะ) ประกอบด้วย 2 เส้น ที่ Shif ไปข้างหน้า 26 ครั้ง คือเส้น Senkou span A (เซนโคว สแปนเอ) = ค่าเฉลี่ยจาก Tenkun+Kijun ÷ 2, และเส้น Senkou Span B (เซนโคว สแปนบี) = ค่าเฉลี่ยสูงสุด+ต่ำสุด ÷ 2 คำนวณย้อนหลัง 52 ครั้ง
สารบัญเนื้อหา คลิกเพื่ออ่านในหัวข้อต่างๆ
ตัวอย่างองค์ประกอบของเส้นต่างๆที่อยู่ใน Ichimoku
การเลือกใช้งาน Ichimoku ใน MT4 :
ให้ไปที่ Insert » indicators » trend » ichimoku kinko hyo
ประโยชน์ของการนำ Ichimoku มาใช้
- บอกจุดชื้อ – ขาย โดยดูจากเส้นคู่กลาง (Tenkan,Tenkan) ถ้าแดงตัดน้ำเงินขึ้น=ซื้อ ถ้าแดงตัดน้ำเงินลง=ขาย
- ยืนยันการเกิดเทรนด์ใหญ่ๆ โดยดูจากเส้นถอยตัดกับเส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆ (Chikou/Kumo) ถ้าเส้นถอยตัดเส้นขยับขึ้น = จะเกิดเทรนด์ใหญ่ขาขึ้น ถ้าเส้นถอยตัดเส้นขยับลง = จะเกิดเทรนด์ใหญ่ขาลง
- บอก pattern ของราคาว่ากำลังอยู่ในช่วงไหน มีเทรนด์หรือไซต์เวย์ โดยดูจากตำแหน่งของแท่งเทียนกับกลุ่มก่อนเมฆ
- เป็นแนว-รับแนวต้าน โดยดูจากเส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆกับแท่งเทียน
- บอกจุดที่ราคาจะมีการสวิงตัวแรงๆ ตามทฤษฎี break out
1. บอกจุดซื้อ-ขาย จากเส้นคู่กลาง Tenkan vs Kijun
เส้นคู่กลางมี 2 เส้น คือเส้น Tenkan (เท็งกัง) กับเส้น Kijun (คิจุน) โดยปกติถ้าเรา insert เข้ามาตามต้นแบบเดิมๆ เส้น Tenkan จะเป็นสีแดง เส้น Kijun จะเป็นสีน้ำเงิน ทั้งสองเส้นนี้จะทำหน้าที่บอกจุดหรือสัญญาณซื้อ-ขาย หรือแนวโน้มในระยะสั้นๆ มีวิธีการจำง่ายๆ ก็คือ ดูเส้นสีแดง (Tenkan) เป็นหลัก ถ้าตัดเส้นน้ำเงินขึ้นให้ซื้อ ถ้าตัดน้ำเงินลงให้ขาย นั่นเอง ขอให้ดูตามภาพตัวอย่าง
2.ยืนยันการเกิดเทรนด์ใหญ่ๆ Chikou vs Kumo
การยืนยืนว่าจะมีเทรนด์ใหญ่ๆเกิดขึ้น ก็อาศัยการตัดกันของเส้นถอยกับเส้นขยับ ปกติเส้นถอย (Chikou) ตามต้นแบบหลังจาก insert เข้ามาจะเป็นสีเขียว (นิยมใช้สีเดิมตามต้นฉบับ)
ส่วนเส้นขยับ (Kumo) หรือที่เรียกว่ากลุ่มก้อนเมฆนั้นที่ เกิดจากเส้นสองเส้น รวมเข้าด้วยกัน คือเส้น Senkou span A กับเส้น Senkou span B ทำให้เกิดก้อนเมฆขึ้น ถ้าสองเส้นนี้อยู่ห่างกันก็จะเป็นก้อนเมฆใหญ่ ถ้าอยู่อยู่ใกล้กันก็เป็นก้อนเมฆเล็ก ถ้าใกล้กันมากๆ ก็จะเป็นแค่รูปเป็นเส้น ในการยืนยันการเกิดเทรนด์
มีวิธีการจำง่ายๆ ก็คือถ้าเส้นถอยตัดเส้นขยับขึ้น = อาจเกิดเทรนด์ใหญ่ขาขึ้น ถ้าเส้นถอยตัดเส้นขยับลง = อาจเกินเทรนด์ใหญ่ขาลง ตามตัวอย่าง
หมายเหตุ: สีตัวเมฆที่เป็นเส้น Kumo อาจจะแตกต่างกันไป ตามที่แต่ล่ะท่านได้เช็ทไว้
3.บอก pattern ของราคาว่ากำลังอยู่ในช่วงไหน Candlesticks vs Kumo
pattern ของราคากำลังอยู่ในช่วงไหน ดูได้จากตำแหน่งของแท่งเทียนที่อยู่กับกลุ่มก่อนเมฆ ทำความเข้าใจง่ายๆก็คือ
- ถ้าราคา(แท่งเทียน) ยังอยู่เหนือก้อนเมฆ แสดงว่ายังเป็นแนวโน้มขาขึ้น
- ถ้าราคา(แท่งเทียน) ยังอยู่ใต้ก้อนเมฆ แสดงว่ายังเป็นนวโน้มขาลงอยู่
- ถ้าราคา(แท่งเทียน) อยู่ใน Zone ก้อนเมฆอยู่ ยังไม่ดีดหรือพุ่งไปไหน แสดงว่าราคายังอยู่ในรูปแบบ(แพทเทิร์น)ไซต์เวย์
ตัวอย่างการบอก pattern ของราคาจาก Candlesticks vs Kumo
4. เป็นแนวรับ-แนวต้าน Candlesticks vs Kumo
เส้นขยับหรือกลุ่มก้อนเมฆสามารถเป็นได้ทั้งแนวรับและแนวต้านโดยดูจาก
- เป็นแนวรับเมื่อราคา(แท่งเทียน) อยู่เหนือกลุ่มก้อนเมฆ
- เป็นแนวต้านเมื่อราคา(แท่งเทียน) อยุ่ใต้กลุ่มก้อนเมฆ
ถ้าหากราคาสามารถทะลุแนวรับ หรือแนวต้านได้เมื่อไหร่ นั่นหมายถึง ราคาอาจเกิดการเปลี่ยนเทรนด์ได้
ตัวอย่าง การทำหน้าที่เป็นทั้งแนวรับ-แนวต้าน ของ Kumo (กลุ่มก้อนเมฆ)
5.บอกจุดที่ราคาจะมีการสวิงตัวที่แรงๆ ตามทฤษฎี break out, Candlesticks vs Kumo
เมื่อไหร่ที่ราคา(แท่งเทียน) หลุดตัวทะลุออกจากกลุ่มก้อนเมฆมามาแล้ว ราคาจะมีการสวิงตัวที่รุนแรง ตามทฤษฎี break out