4 รูปแบบ กลยุทธ์การเทรด Forex

จริตหรือนิสัยตามธรรมชาติของคนเรานั้น ค่อนข้างจะไม่เหมือนกัน เช่น บางท่านอาจจะชอบความสันโดษ ชอบอยู่คนเดียว เงียบๆสงบๆ ไม่วุ่นวาย แต่ในขณะที่บางท่านอาจชอบชีวิตแบบสังคมที่มีผู้คนมากมายพลุกพ่าน ดูแล้วครึกครื้น ไม่เงียบเหงาวังเวง ในการลงทุนในตลาด forex จริต, นิสัย ในการเทรดของเหล่าเทรดเดอร์ของแต่ล่ะท่าน ก็เช่นกัน จะแตกต่างกันไปตามความถนัดที่ชอบของแต่ล่ะท่าน สำหรับบทความในวันนีั การลงทุนเชิงกลยุทธ์แบบไหนทีเป็นสไตล์ของคุณ หรือที่คุณถนัดนั่นเอง บางท่านอาจจะงวยงงว่า กลยุทธ์หรือสไตล์การเทรดมันคืออะไร แล้วตูจะรู้ว่าได้ยังไง ว่าถนัดอะไร เพราะยังไม่รู้เลย ใจเย็นๆนะครับ กำลังจะอธิบาย
สำหรับสไตล์หรือรูปแบบเชิงกลยุทธ์ในการลงทุน โดยหลักๆ แล้วจำแนกออกเป็น 5 ข้อดังนี้ครับ

  1. Scalping  คือเน้นทำกำไรระยะสั้น ๆ
  2. Day trading คือการเข้าออเดอร์เน้นที่ช่วงของราคามีจังหวะสะบัดหรือสวิงนั่นเอง
  3. Swing trading คือการเทรดโดยเน้นยึดเทรนด์เป็นหลัก
  4. Trend trading คือการเทรด เน้นยึดเทรนด์เป็นหลัก

ในแต่ละรูปแบบ มีข้อดี ข้อเสียดังนี้

 

สารบัญเนื้อหา คลิกเพื่ออ่านในหัวข้อต่างๆ

1. Scalping

คือการเทรดเน้นที่ความถี่ของออเดอร์ เน้นทำกำไรระยะสั้นๆ ส่วนใหญ่ก็จะเล่นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่นไม่เกิน 2-3 ชั่วโมงหรือบางทีอาจจะมากกว่า หรือน้อยกว่านี้ ทามเฟรมที่นิยมเล่นกันคือตั้งแต่ 1 นาทีไปจนถึง 5,15, 30 นาที โดยใช้ทามเฟรม 1 ชั่วโมงเป็นตัวคุมภาพรวม ใช้ทามเฟรมรายวันเพื่อดูแนมโน้มในวันถัดไป ข้อดี ข้อเสีย ของการเล่นแบบ Scalping มีดังนี้ครับ

   ข้อดี

  •  สามารถทำกำไรปริมาณมากๆ ในเวลาสั้นๆ (ประมาณ 1-200 จุด , 10 – 20 pip หรือมากกว่า)
  • ยิ่งเข้าถี่ๆยิ่งสร้างกำไรได้เยอะ (เสี่ยงขาดทุนสูงเช่นกัน)
  • เลือกเข้าตลาด(เทรด) เน้นช่วงที่ตลาดมีความผันผวนชัดเจน (ใช้เวลาน้อย)
  • รู้ผลกำไร/ขาดทุนรวดเร็วทันใจ เพราะเน้นลงทุนระยะสั้น เริ่มตั้งแต่ 1 นาที
  • ไม่ต้องวิเคราะห์ตลาดในระยาวให้ปวดหัว เพราะไม่ถือยาวอยู่แล้ว

ข้อเสีย

  • ต้องเฝ้าหน้าจอ
  • มีความเสี่ยงสูง ความถี่ของออเดอร์ช่วยทำกำไรเยอะก็จริง แต่เสี่ยงขาดทุนเยอะเช่นกัน
  • จังหวะที่ตลาดผันผวนมากๆ หากไม่มีการจัดการความเสี่ยงที่ดี มีโอกาสโดนล้างพอร์ต หรือหมดตัวเร็ว
  • ต้องมีประสบการณ์และความชำนาญในตลาดไม่น้อย หากเล่นแนวนี้

 

 

2. Day trading

เป็นกลยุทธ์การซื้อขายที่เน้นทำกำไร ที่จะเทรดจบในวันเดียว ไม่ถือออเดอร์ข้ามคืน เพื่อหลีกเลี่ยงค่า Swap (ค่าดอกเบี้ยถือข้ามคืน) กลยุทธ์ Day trading จะต้องสนใจข่าว ต้องตามข่าว ก่อนออกออเดอร์เสมอ โดยจะเน้นทำกำไร ในช่วงที่มีข่าวสำคัญประกาศ ดังนั้น เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์นี้จะต้องมีเวลาพอ ต้องติดตามข่าว และเฝ้าหน้าจออย่างต่อเนื่อง

 ข้อดี

  • มีโอกาสทำกำไรได้สูง ถ้าวิเคราะห์ข่าวเป็น 
  • ไม่ต้องเสียค่า Swap เพราะไม่ถือข้ามคืน
  • มีข้อมูลในการวิเคราะห์ตลาดภาพรวม เนื่องจากมีการติดตามข่าวตลอด เป็นคนทันโลก ทันเหตุการณ์

ข้อเสีย

  • ต้องเฝ้าหน้าจอ
  • ต้องคิดวิเคราะห์ข่าว  
  • โอกาสทำกำไร มากน้อย ขึ้นอยู่กับสถานะการข่าว

 

3. Swing trading

กลยุทธ์การซื้อขายแบบ Swing Trading  ของเทรดเดอร์ในตลาด Forex นั้นมีทั้งระยะสั้นและแบบระยะยาว ไม่ขึ้นกับระยะเวลา การถือยาวหรือสั้นจะขึ้นอยู่กับ Timeframe ที่ใช้ เนื่องจากจังหวะที่เทรด เหมาะกับสภาวะตลาดที่มีการแกว่งตัวรุนแรงหรือสภาวะตลาดที่เป็น Sideway ดังนั้นทักษณะเรื่องการมองกราฟราคาให้ออกว่าอยู่ในแนวโน้มแบบใดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การเทรดด้วยวิธีนี้จะนิยมใช้การจัดการความเสี่ยงด้วยการทำ Hedging หรือการจัดการความเสี่ยงแบบ เฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund) อาจจะใช้การจัดการความเสี่ยงด้วยวิธีอื่นๆ ซึ่งมีอยู่มากมาย เช่น Stop loss (แบบมีชั้นเชิง), ฯล แต่ส่วนมากแล้วจะนิยมใช้ Hedging กันชะเป็นส่วนใหญ่ สำหรับสวิงเทรดดิ่งนี้ สามารถเป็นได้ทั้งระยะสั้น- ระยะกลาง -ระยะยาว เช่นจากรายชั่วโมง – รายวัน – รายสัปดาห์ รายเดือน ไปจนถึงรายไตรมาสก็ได้ (day trade, week trade, month trade) ปกติแล้วเทรดเดอร์เมื่อเข้ามาอยู่ในตลาดชักระยะแล้ว มักจะไต่เต้าเป็นสวิงเทรดดิ่งไปเองโดยอัตโนมัต โดยไม่รู้ตัว เนื่องจากทนกำไรไม่ได้ (แต่ทนขาดทุนได้) คือเมื่อเห็นเป็นกำไรก็มักจะปิดออเดอร์ แล้วหาจังหวะเข้าใหม่นั่นเอง(ส่วนมากเป็นกันทุกคน)

ข้อดี

  • เหมาะกับตลาดที่มี leverage มีความผันผวน
  • เน้นที่จังหวะเข้าเท่านั้น ไม่ต้องสนใจเทรนด์หรือแนวโน้ม
  • ไม่ต้องเฝ้าหน้าจอ (มีเวลาไปไหนมาไหนได้ตามสะบาย)
  • ไม่ต้องเข้าออเดอร์บ่อย (ในวันหนึ่งเข้าไม่กี่ไม้หรือเข้าเพียงไม้เดียว)
  • สามารถซื้อได้หลายๆคู่ พร้อมกัน (เน้นเข้าให้ถูกจังหวะ ถ้าผิดตัดขาดทุนด้วย stop loss ไป)
  • เหมาะกับรูปแบบการจัดการความเสี่ยงโดยใช้ Fixed ล็อท เพื่อความคล่องตัว

ข้อเสีย

  • ต้องหาจุดเข้าให้เป็นและแม่นด้วย (จุดเข้าสำคัญกว่าการมองเทรนด์)
  • โดนลากบ่อย เมื่อเข้าผิดจุด
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการถือกำไรระยะยาว

 

4. Trend trading

สิ่งสำคัญของการใช้กลยุทธ์สไตล์นี้คือ การอ่านเทรนด์ให้ขาด มองเทรนด์ใหญ่เป็นหลัก พูดง่ายก็คือ จังหวะเข้าไม่สำคัญเท่าการมองเทรนด์ขาด (การอ่านเทรนด์สำคัญกว่าหาจังหวะเข้า) และเราจะต้องปล่อยกำไรให้วิ่งไปจนสุดเทรนด์ ไปจนกว่าเราเห็นว่าราคาหรือเทรนด์มันหมด จะไม่ไปต่อแล้ว ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอันใด แล้วคุณก็ปิดจ๊อบ(ปิดออเดอร์) เอากำไรก้อนโต เป็นอันว่าเสร็จภาระกิจ แต่ก็มีบางท่านที่สับสนกับ Trend follow กับ Swing trading อธิบายง่ายๆก็คือ ในการเทรดหากคุณตั้ง stop loss และ take profit ไปเรื่อยๆ ของในแต่ล่ะช่วง ก็เท่ากับว่าเป็นการจำกัดกำไร จำกัดการขาดทุน อย่างนี้ก็ไม่ใช่ Trend follow แต่จะเป็น swing trade ทันที ฉนั้น Trend follow จึงมีแค่ตั้ง stop loss แล้วรันไปเรื่อยๆ โดยไม่ตั้ง take profit ไปจนกว่าเรามองเห็นว่ามันสุดเทรนด์ แล้วปิดออเดอร์รอบเดียว ถึงแม้ว่าจะมีการขาดทุนหลายๆรอบ ในช่วงที่สวนเทรนด์ แต่เมื่อราคากลับมา แลัววิ่งไปตามเทรนด์หลักจนสุด หรือเห็นว่ามีสัญญาณที่ไม่ดี ที่เทรนด์จะไม่ไปต่อแล้ว ก็ปิดทำกำไรรอบเดียว โดยกำไรที่ได้นี้ก็จะ cover การขาดทุนทั้งหมด ไปโดยปริยาย

ข้อดี

  • สามารถนำไปใช้ได้ทุกตลาด เช่น หุ้น
  • ไม่ต้องเฝ้าหน้าจอ (มีเวลาไปไหนมาไหนได้ตามสะบาย)
  • ไม่ต้องเข้าออเดอร์บ่อย (ในวันหนึ่งเข้าไม่กี่ไม้หรือเข้าเพียงไม้เดียว)
  • เลือกระยะการเทรดได้ง่าย เพราะดูจากเทรนด์เป็นหลัก
  • เหมาะกับผู้ที่ไม่ค่อยว่าง เพราะเล่นรอบใหญ่ ระยะยาว
  • ลดความกังกลเพราะไม่ต้องมาคลุกคลีกับกราฟเกินไป
  • ไม่ต้องปวดหัว เพราะใช้ Stop loss ตัดขาดทุนถ้าไปผิดทาง (ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม)
  • สามารถเล่นทามเฟรมระยะสั้นได้เหมือนกัน แต่ต้องมองเป็นเทรนด์ เช่นทามเฟรมรายวัน

ข้อเสีย

  • ไม่เหมาะกับผู้มองเทรนด์ไม่เป็น หรือมองไม่ขาด
  • เป็นการลงทุน ระยะยาว ต้องใช้งบลงทุนสูง
  • ต้องมีความอดทนสูง ใจเย็นมากๆ ไม่ว่ากำไรหรือขาดทุน ในช่วงที่เทรนด์กำลังวิ่ง
  • ในตลาด forex ใช้ระบบมาร์จิ้น มี leverage สูง หากจะถือยาวจริงๆ ต้องมีการคำนวณ วางแผนการที่รัดกุมมากๆ แล้วพอร์ตที่ถือต้องใหญ่มากๆ ตามเทรนด์บวกระยะเวลาที่กำหนด
  • ไม่เหมาะกับนักลงทุนระยะสั้น ที่ต้องการหมุนเงิน

 

แล้วสไตล์หรือเทคนิคเชิงกลยุทธ์แบบไหนที่เหมาะกับเรา  สไตล์หรือเทคนิคเชิงกลยุทธ์รูปแบบไหนที่เหมาะกับเรา ก็คงดูไม่ยากครับ เอาง่ายๆ เลยดังนี้ครับ

  • Scalping  หากท่านต้องการปั่นพอร์ต ทำกำไรให้เติบโตในระยะสั้นๆ โดยไม่ซีเรียสกับการเฝ้าหน้าจอ
    ก็โฟกัสไปที่ การฝึกกลยุทธ์ ต่างๆ เกี่ยวกับ Sclapping เช่น วิธีจัดการความเสี่ยงแบบ Sclapping, กลยุทธ์การทำกำไรแบบ Sclapping, ระยะเวลา(ทามเฟรม)ที่เหมาะกับ Sclapping
  • Day trading หากท่านคือสายโหด กำไรหรือขาดทุน มันเร็วฟ้าผ่าในช่วงพริบตาเพียงไม่กี่นาที อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเร็วแบบฟ้าผ่าสักเพียงไหน หากเราอยู่กับมันนานๆ เราก็จะมีแผนรับมือกับมันเอง โดยการใช้กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง ที่มีชั้นเชิงทางเทคนิคที่สูงขึ้น เช่นการทำ Hedging เชิงลึก,การจัดการความเสี่ยงโดยวิเคราะห์จาก Maximum Draw-down ที่เหมาะสม เป็นต้น
  • Swing trading หากคุณอยากมีเวลาว่าง ไม่ชอบเฝ้าหน้าจอ ไม่ต้องเข้าออเดอร์หลายไม้
    ก็โฟกัสไปที่ การหาจุดเข้าให้แม่นๆ ฝึกกลยุทธ์ต่างที่ใช้กับ swing trade
  • Trend trading ถ้าท่านเป็นคนที่มีทุนหนา มีงบลงทุน(เงิน) ที่เย็นมากๆ ไม่ได้นำไปหมุนใช้อะไร เเละตัวท่านเองก็เป็นคนที่ใจเย็น(มากๆ) แบบอดเปรี้ยวไว้กินหวาน มีความเด็ดเดี่ยวและมั่นคง ทนกำไรหรือขาดทุนในระยะยาวได้(ไปจนสุดเทรนด์) เป็นคนมองการไกล อ่านเทรนด์ขาด บวชก่อนเบียด (บวชก่อนเบียด มันเกี่ยวกันไหมเนี่ยะ! 555)